Meet the Master พาออกเดินทางไปตามหา Master ด้านต่างๆ เริ่มต้นด้วย “ช่างตีเหล็กโบราณ” เอกลักษณ์งานช่างและภูมิปัญญาแห่งบ้านเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ที่ตอนนี้ได้รับการสืบสานฟื้นกลับมาโดยคนรุ่นใหม่ลูกหลานเมืองเพีย
Malibarn : eco florist & herbarium ร้านดอกไม้ที่เป็นมิตรและใจดีกับธรรมชาติ แต่นอกจากการเป็นร้านดอกไม้ที่นี่เหมือนยกพิพิธภัณฑ์พฤกษศาสตร์ขนาดย่อมมาไว้ในร้าน เพราะ มะลิ-กมลรัตน์ ชยามฤต หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเชื่อว่า “พฤกษศาสตร์” คือศาสตร์เพื่อการเข้าใจชีวิต หากลูกค้าได้เข้าใจหัวใจของพฤกษศาสตร์ผ่านร้านดอกไม้ ก็น่าจะช่วยให้เกิดความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย
เปิดประตูชมเบื้องหลังการทำงานอนุรักษ์อย่างละเอียดภายใน ห้องอนุรักษ์บานไม้ประดับมุก ศิลปะชั้นสูงของญี่ปุ่น อายุกว่า 150 ปี ในวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ ภายในมีการออกแบบพื้นที่สำหรับงานอนุรักษ์ทั้งในส่วนของวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
Sarakadee Lite พาไปรู้จักและเกี่ยวแรงบันดาลใจจาก 3 คนที่กระโดดเข้าไปเกี่ยวเนื่องกับงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีปลายทางสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการสร้างชุมชนเกษตรปลอดสารเคมี ซึ่งพวกเขาเห็นตรงกันว่าความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นได้ ขอเพียงอย่างเดียวให้ทุกคนได้เริ่มต้นลงมือทำ
พาไปรู้จักนักสะสมศิลปะไทย กรกมล-พิริยะ วัชจิตพันธ์ กับเบื้องหลังความมุ่งมั่นและแรงบันดาลใจในการสะสมงานศิลปะและจดหมายเหตุ (archive) ตามไทม์ไลน์ของศิลปะสมัยใหม่ของไทยตั้งแต่ ขรัวอินโข่ง Molly ไปจนถึง Alex Face
รับเดือนสิ่งแวดล้อม 2023 ด้วยการพาทัวร์นิทรรศการ Siam Discovery presents Earth Discovery นิทรรศการสะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ย่อยข้อมูลจนทำให้เราได้เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมว่ามันอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และเผลอๆ เราอาจจะกำลังเข้าสู่วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่หนักสุดในรอบ 2 ล้านปีเลยก็ว่าได้
สมุดบันทึก สมุดสเก็ตช์ งานลอกลายจิตรกรรมฝาผนัง และสิ่งละอันพันละน้อยที่เคยอัดแน่นและปิดล็อกอยู่ในตู้เหล็กขนาดใหญ่ 4 ตู้และอีก 1 หีบสมบัติของ “อาจารย์เฟื้อ” หรือ “เฟื้อ หริพิทักษ์” ได้ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งและนำมาเรียงร้อยเรื่องราวใหม่เพื่อบอกเล่าชีวประวัติและการสร้างสรรค์งานของศิลปินผู้ล่วงลับที่ฝากผลงานยิ่งใหญ่ไว้ให้แผ่นดินมากมายใน หอจดหมายเหตุ เฟื้อ หริพิทักษ์
ทราบหรือไม่ว่าในหนึ่งวันมีผู้หญิงไทยป่วยด้วย มะเร็งเต้านม มากถึง 46 ราย ก้าวกระโดดจากมะเร็งอันดับ 3 เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาขึ้นมาเป็นแชมป์มะเร็งอันดับหนึ่งที่คุมคามชีวิตหญิงไทยราวปีละ 17,000 ราย แต่กระนั้นก็ยังมีทางป้องกันคือการตรวจคัดกรอง
ชวนพูดคุยกับ นิมิตร สัตยากุล ผู้ก่อตั้ง สมาคมหนังกลางแปลง ถึงประวัติศาสตร์ของหนังกลางแปลงในไทย พร้อมทั้งวิวัฒนาการจากช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดมาสู่ยุคตกต่ำและยุคแห่งการปรับตัวของหน่วยหนังกลางแปลง หนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย