รู้จัก หน่วยวิจัยแผนที่ฯ ผู้กางประวัติศาสตร์ สร้างเมืองแห่งอนาคต
แผนที่อาจจะไม่ได้มีหน้าที่แค่นำทาง หรือบอกตำแหน่งที่ตั้ง แต่แผนที่ยังสามารถบอกได้ถึงประวัติศาสตร์ย่านหรือชุมชน บอกได้แม้กระทั่งแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองจากอดีตถึงปัจจุบัน ลงลึกไปถึงเหตุผลว่าทำไมร้านค้านับร้อยต้องกระจุกตัวอยู่โซนนี้ ทำไมโรงงาน โกดังคลังสินค้าถึงกระจุกตัวอยู่ในโซนนั้น และทำไมย่านนี้ถึงชื่อบางรัก เจริญกรุง คำตอบอาจจะไม่ได้มาจากบันทึกทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เส้นพิกัดในแผนที่ก็สามารถคลี่คลายคำตอบเหล่านั้นได้เช่นกัน และนั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยแผนที่ในประเทศไทย ตั้งแต่แผนที่ทหาร แผนที่โบราณแบบภาพไตรภูมิ แผนที่คูคลองเมือง ไปจนถึงแผนที่ล้อมตีกรุง พร้อมจัดการข้อมูล เรียบเรียง และเผยแพร่ ไปจนถึงทำให้คนทั่วไปเข้าถึงการใช้งานแผนที่ได้ง่ายและสนุกขึ้น



Sarakadee Lite ชวนไปรู้จัก หน่วยวิจัยแผนที่ฯ กันอีกสักครั้งว่าทำไม “นักวิจัยแผนที่” จึงสำคัญต่อการพัฒนาเมือง และทำไมเมืองที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีหน่วยงานวิจัยแผนที่เช่นนี้
Fact File
- ติดตามข่าวยสารจาก หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ FB : cumaplab
