งานหนังสือประจำปี Hybrid Book Fair 2564 เริ่มต้นขึ้นแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีลิสต์รายการเรียงยาวเป็นหางว่าว แต่สำหรับใครที่ยังไม่มี เรามีหนังสือแวะมาป้ายยา ทั้งเล่มใหม่ล่าและเล่มไม่ล่าแต่น่ามีไว้ในครอบครอง
ฮัสกี้หน้าโง่กับอาจารย์เหมียวขาวของเขา นิยายวายจีนความยาว 10 เล่มจบ เขียนโดย โร่วเปาปู้ชือโร่ว แปลไทยโดย BouPtrn เนื้อหาสอดแทรกประเด็นเชิงโครงสร้างทางสังคม การเมือง และสะท้อนความดำมืดของมนุษย์ออกมาได้อย่างแยบยล
กีรติรัก นวนิยายแฟนฟิกชันมีทั้งเนื้อหาของเลสเบียน และไบเซ็กชวล สะท้อนปัญหามิติเรื่องเพศในไทยโดยเฉพาะเลสเบียนและไบเซ็กชวลในช่วง พ.ศ.2500 ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งปัญหานี้ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบันและอาจจะดำเนินต่อไปในสังคมไทย
วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกวงการไม่เว้นแม้แต่วงการวรรณกรรมไทย โดยเฉพาะ ซีไรต์ หรือ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน เวทีที่ สกุล บุณยทัต นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์พ.ศ.2564 กล่าวย้ำว่าเป็นเวทีที่มีความหมายต่อวงการนักเขียน และนักอ่านในสังคมไทยอย่างมาก
ชวนมอง ความแตกต่างหลากหลายทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ และความคิด ที่ถูกซุกซ่อนไว้ใน นิทาน ซึ่งแม้ไม่มีคำพูด หรือบทสนทนา แต่เด็กๆ ก็สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมบนความแตกต่างได้
Holding the Man เป็นหนังสือต้นฉบับของ ทิโมธี คอนิเกรฟ (Timothy Conigrave) นักเขียนและนักเคลื่อนไหวสิทธิประเด็นทางเพศชาวออสเตรเลีย หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลทางความคิดและยังได้รับรางวัล Human Rights Award for Non-Fiction ในปี 1995 จาก Australian Human Rights
ความจริงไม่ใช่อย่างที่เห็น (Reality is Not What It Seems) โดย คาร์โล โรเวลลี (Carlo Rovelli) นักทฤษฎีฟิสิกส์ชาวอิตาลี ผู้มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องโดย และมักเชื่อมโยงแนวคิดควอนตัมฟิสิกส์ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ งานเขียนของโรเวลลีมีความโดดเด่นด้วยการมองจากหลายเหลี่ยมมุมและการมุ่งเสนอความคิดใหม่
ฮาจิโกะ หรือ Hachiko El gos que esperaba ผลงานการเขียนของ หลุยส์ พรัทส์ (Lluís Prats) ฉบับแปลไทยโดยสำนักพิมพ์ Piccolo ถ่ายทอดเรื่องราวความผูกพันอันลึกซึ้งของ ฮาจิโกะ สุนัขพันธุ์อาคิตะและเจ้าของจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหวังเพียงผู้เดียว ผลงานหนังสือรวมบทความสารคดี 13 ชิ้นสะท้อนเรื่องราวของสามัญชนในสังคมที่แตกต่างหลากหลายวิถีชีวิต แตกต่างถิ่นที่อยู่ แต่ยังมีสายใยเชื่อมโยงถึงกัน สิ่งนั้นก็คือ “ความหวัง” ทั้งหมดนี้ถ่ายทอดผ่านการเล่าเรื่องจากการลงพื้นที่ของ ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการของเว็บไซต์ที่โดดเด่นด้านการนำเสนอเนื้อหาเชิงสังคมอย่าง The101.world