เก็บลิสต์หนังสือที่เข้ารอบ Longlist ประเภท เรื่องสั้น รางวัลซีไรต์ ประจําปี 2566 จากทั้งหมด 64 เล่ม ได้รับคัดเลือกเพียง 17 เล่มเท่านั้น
ด้วยรัฐและสัตย์จริง หนังสือที่ว่าด้วยระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรมแห่งรัฐ และความซื่อสัตย์ที่ผันแปรตามประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆ ของไทย เขียนโดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ นักวิชาการที่มีผลงานน่าสนใจอย่าง การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475 มาจนถึง ลืมตาอ้าปาก จาก "ชาวนา" สู่ “ผู้ประกอบการ"
อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย หนังสือที่เล่าถึงอำนาจจากการมีอยู่ของภาษาและวรรณกรรม พร้อมถอดรื้อวิเคราะห์ที่มาเชิงประวัติศาสตร์ของภาษาและวรรณกรรมไทยโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เชี่ยวชาญด้านปัญหาของความเป็น “ไทย” ในจุดตัดของนิยาม มายาคติ และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์
ศิลปะแห่งการผัดวันประกันพรุ่ง (The Art of Procrastination) โดย จอห์น เพอร์รี (John Perry) นักเขียน นักปรัชญา และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ศึกษาทฤษฎีการผัดวันประกันพรุ่งแบบมีโครงสร้างจนทำให้เขาคว้ารางวัลอิกโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำ ค.ศ. 2011 และกลายมาเป็นหนังสือฮาวทูแบบฉบับคนขี้เกียจเล่มนี้
ประท้วง! หนังสือเล่าเรื่องประวัติศาสตร์การประท้วง แปลจาก Protest! ของ อลิซ และ เอมิลี ฮาเวิร์ท-บูท โดยสำนักพิมพ์ SandClock Books นำเสนอหนังสือเสริมทักษะชีวิต ความคิด การเรียนรู้ เจาะไปที่ทักษะร่วมสมัยอย่าง การประท้วง พร้อมที่จะอธิบายว่าทำไมการประท้วงถึงชอบธรรม
23 เมษายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น วันหนังสือโลก หรือ World Book Day จุดเริ่มต้นของวันนี้มาจากวันตายของนักเขียนดังชาวสเปน “มิเกล เด เซรบานเตส” เจ้าของบทประพันธ์นวนิยายคลาสสิกอัศวินนักฝัน “ดอน กิโฮเต้ (Don Quixote)”
Music to Cook By : ความเรียงว่าด้วย อาหาร ดนตรี ชีวิต ผลงานความเรียงรวมเล่มเปี่ยมรสนิยมของ โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการ นักแปล และนักเขียนผู้คร่ำหวอดในการเล่าความรู้รอบตัวตั้งแต่จริงจังชวนคิดจนถึงวิถีชีวิตสะท้อนยุคสมัย ให้มาบรรจบประกอบเป็นเรื่องราวที่มีรสชาติเอกลักษณ์เฉพาะคงไว้ซึ่งสาระน่ารู้และภาษาในบรรยากาศผ่อนคลายเล่มนี้โตมรได้นำคอลัมน์ “Music to Cook By” ที่เขาได้เขียนลงนิตยสาร Home & Decor มารวมเล่ม
ป่าน้ำผึ้ง นวนิยายของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนมากฝีมือในวงการวรรณกรรมไทยร่วมสมัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีงานต่อเนื่องและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย สารคดี เรื่องรัก เรื่องอาหาร และประวัติศาสตร์ ส่วน ป่าน้ำผึ้ง นั้นยังคงเอกลักษณ์ทางภาษาและการเล่าเรื่องในบรรยากาศขลังขรึม เจือความสัมพันธ์หวานชวนฝัน ประกอบการเสนอวัฒนธรรม รสชาติ และประวัติศาสตร์ในบรรยากาศประเทศไทยสมัยใหม่ยุค จอมพล ป.
ตามหาความหมายแห่งชีวิตและศาสตร์แห่งการใช้ชีวิตผ่านหนังสือ ปราชญ์แห่งธนู (The Archer) งานเขียนประเภทนิยายของ เปาโล คูเอลญ ที่ได้แรงบันดาลใจจากการฝึกฝน "คิวโด" วิถีแห่งธนูในแบบของญี่ปุ่น