วรรณาคดี คือหนังสือเล่าเรื่องเชิงอัตชีวประวัติของ วรรณา ทรรปนานนท์ นักเขียนผู้คร่ำหวอดในยุคสมัยอันรุ่งเรืองของวรรณกรรมไทย ฝีไม้ลายมือทางวรรณกรรมระยะเวลากว่า 50 ปี
โบ และทุกสิ่งที่มิอาจแบ่งแยก หรือ Beau is Non-Binary of Everything นวนิยายที่ได้รับความนิยมของนักเขียนไทยที่กำลังน่าจับตามองอย่าง “ลาดิด (Lady’s Lady)” นามปากกาของนักเขียนผู้มาแรงจากโลกอินเทอร์เน็ตสู่การพิมพ์รูปเล่ม การันตีความนิยมฉบับหนังสือเล่มจากการพิมพ์ซ้ำ 4 ครั้งในระยะเวลาเพียง 2 ปี และมีฉบับแปลภาษาอังกฤษ อีกทั้งในฉบับปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 4 ยังเพิ่มภาพประกอบโดย “Hangtung (หางตั้ง)”
ด้วยรัฐและสัตย์จริง หนังสือที่ว่าด้วยระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรมแห่งรัฐ และความซื่อสัตย์ที่ผันแปรตามประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆ ของไทย เขียนโดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ นักวิชาการที่มีผลงานน่าสนใจอย่าง การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475 มาจนถึง ลืมตาอ้าปาก จาก "ชาวนา" สู่ “ผู้ประกอบการ"
อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย หนังสือที่เล่าถึงอำนาจจากการมีอยู่ของภาษาและวรรณกรรม พร้อมถอดรื้อวิเคราะห์ที่มาเชิงประวัติศาสตร์ของภาษาและวรรณกรรมไทยโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เชี่ยวชาญด้านปัญหาของความเป็น “ไทย” ในจุดตัดของนิยาม มายาคติ และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์
ศิลปะแห่งการผัดวันประกันพรุ่ง (The Art of Procrastination) โดย จอห์น เพอร์รี (John Perry) นักเขียน นักปรัชญา และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ศึกษาทฤษฎีการผัดวันประกันพรุ่งแบบมีโครงสร้างจนทำให้เขาคว้ารางวัลอิกโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำ ค.ศ. 2011 และกลายมาเป็นหนังสือฮาวทูแบบฉบับคนขี้เกียจเล่มนี้
ประท้วง! หนังสือเล่าเรื่องประวัติศาสตร์การประท้วง แปลจาก Protest! ของ อลิซ และ เอมิลี ฮาเวิร์ท-บูท โดยสำนักพิมพ์ SandClock Books นำเสนอหนังสือเสริมทักษะชีวิต ความคิด การเรียนรู้ เจาะไปที่ทักษะร่วมสมัยอย่าง การประท้วง พร้อมที่จะอธิบายว่าทำไมการประท้วงถึงชอบธรรม
23 เมษายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น วันหนังสือโลก หรือ World Book Day จุดเริ่มต้นของวันนี้มาจากวันตายของนักเขียนดังชาวสเปน “มิเกล เด เซรบานเตส” เจ้าของบทประพันธ์นวนิยายคลาสสิกอัศวินนักฝัน “ดอน กิโฮเต้ (Don Quixote)”
ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของ ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ กลับมาอีกครั้งใน ช่องว่างระหว่างความหมาย โดยสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม นวนิยายขนาดสั้นที่ยังคงเอกลักษณ์การเล่าเรื่องเชิงสมจริงและการแสดงให้เห็นถึงมุมมองของตัวละครที่เป็นผลผลิตแห่งยุคร่วมสมัยของสังคมไทย
นามธรรมอันเป็นปัญหาใหญ่เชิงความคิดในหลายยุคสมัยอย่าง ความรัก ยังคงเป็นปริศนาทางคำอธิบายที่แทบจะไม่มีวันคลี่คลายได้ทั้งเชิงการนิยามขอบเขตและเชิงการบรรยายความรู้สึก เนื่องด้วยความรักเชื่อมโยงกับความหมายของคำอื่นๆ ทั้งความโรแมนติก ความใคร่ จนไปถึงความหมายชีวิต หรือแม้แต่ทัศนะและวัฒนธรรมทางการเมืองก็แทบจะไม่เคยตัดขาดกันได้อย่างสิ้นเชิงกับขอบเขตของความรัก