รู้จัก ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ กวีหญิงคนที่ 2 ในรอบ 44 ปี ที่สามารถคว้ารางวัลยอดเยี่ยมของการประกวด วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ กับผลงาน จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้
อับดุลราซัค กูร์นาห์ นักเขียนรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี 2021 จากผลงานการเขียนที่ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการล่าอาณานิคมและชะตากรรมของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเขาเอง
ในประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่านามปากกา ทมยันตี หรือชื่อจริง คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ เป็นนามปากกาของนักเขียนนวนิยายที่ส่งอิทธิพลต่อผู้อ่านมากที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค โดยเฉพาะนักอ่านผู้หญิงที่ชอบนวนิยายแนวโรแมนติกพาฝัน
จอร์จ ออร์เวลล์ เป็นนามปากกาของ อีริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) ชายชาวอังกฤษ นักเขียนเจ้าของผลงานคลาสสิก Animal Farm และ 1984
29 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็นวันครบรอบ 121 ปีชาตกาลของนักบินและนักเขียนชาวฝรั่งเศส อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรี (Antoine de Saint-Exupéry, ค.ศ.1900-1944) ผู้ให้กำเนิดวรรณกรรมสุดคลาสสิกเรื่อง เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) และทำให้เด็กหนุ่มผมสีทองจากดาว B612 กลายเป็นขวัญใจของนักอ่านทั่วโลก
ราช เลอสรวง นามปากกาของ นิวัฒน์ ธาราพรรค์ นักเขียนการ์ตูนรุ่นบุกเบิกของไทยในรูปแบบการ์ตูนเล่มหรือคอมิกส์ (comics) ที่มีผลงานเฉพาะตัวฝากไว้ในวงการการ์ตูนไทย ซึ่งเป็นการ์ตูนไทยแนวพระเอกผู้กล้าหาญ และตัวละครเอกมีลักษณะขบถนอกกรอบจากยุคสมัยในช่วง พ.ศ. 2510
โทนี มอร์ริสัน (Toni Morrison) นักเขียนหญิงผิวดำคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม (Nobel Prize forLitera-ture) ปี1993 พร้อมทั้งก่อนหน้าที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 1987 จากนวนิยายเรื่อง Beloved ที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้เขียนนวนิยายที่มีประเด็นผู้หญิง สีผิว และการพินิจชีวิตตัวละครอย่างมีมิติชวนค้นคิด
จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) นักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้บุกเบิกงานเขียนนิยายแนวไซไฟ พร้อมจิตนาการถึงสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เทคโนโลยียังพัฒนาไปถึง เจ้าของนิยายดัง 80 วันรอบโลก, ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ และ 5 สัปดาห์ในบอลลูน
เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (Virginia Woolf) ผู้ตั้งคำถามกับขนบสตรีและงานวรรณกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนในการแหกขนบแหวกธรรมเนียมไม่ว่าโลกจะขยับเข้าสู่โลกดิจิทัลชื่อของนักเขียนผู้นี้ก็ยังคงสะท้อนก้องให้ได้ยินอย่างต่อเนื่องทั้งในขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีและงานวิชาการเชิงวรรณกรรมสมัยใหม่