จอร์จ ออร์เวลล์ เป็นนามปากกาของ อีริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) ชายชาวอังกฤษ นักเขียนเจ้าของผลงานคลาสสิก Animal Farm และ 1984
เปิดจดหมายรักของ อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรี ผู้เขียน เจ้าชายน้อย ถึงกอนซูเอโล เดอ แซงเต็กซูเปรี หญิงสาวผู้เป็นแรงบันดาลใจเบื้องหลังการเขียนเจ้าชายน้อย และการถือกำเนิดของดอกกุหลาบเจ้าชายน้อย
Holding the Man เป็นหนังสือต้นฉบับของ ทิโมธี คอนิเกรฟ (Timothy Conigrave) นักเขียนและนักเคลื่อนไหวสิทธิประเด็นทางเพศชาวออสเตรเลีย หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลทางความคิดและยังได้รับรางวัล Human Rights Award for Non-Fiction ในปี 1995 จาก Australian Human Rights
29 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็นวันครบรอบ 121 ปีชาตกาลของนักบินและนักเขียนชาวฝรั่งเศส อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรี (Antoine de Saint-Exupéry, ค.ศ.1900-1944) ผู้ให้กำเนิดวรรณกรรมสุดคลาสสิกเรื่อง เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince) และทำให้เด็กหนุ่มผมสีทองจากดาว B612 กลายเป็นขวัญใจของนักอ่านทั่วโลก
โทนี มอร์ริสัน (Toni Morrison) นักเขียนหญิงผิวดำคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม (Nobel Prize forLitera-ture) ปี1993 พร้อมทั้งก่อนหน้าที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 1987 จากนวนิยายเรื่อง Beloved ที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้เขียนนวนิยายที่มีประเด็นผู้หญิง สีผิว และการพินิจชีวิตตัวละครอย่างมีมิติชวนค้นคิด
Moxie ภาพยนตร์จากต้นฉบับหนังสือนวนิยายชื่อเดียวกันของ เจนนิเฟอร์ มาธิยู (Jennifer Mathieu) นักเขียนนิยายวัยรุ่นที่มีผลงานอันเป็นที่พูดถึงอย่าง The Truth about Alice, Devoted,The Liarsและ Moxie โดยในฉบับภาพยนตร์นี้ Moxie อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ เอมี โพห์เลอร์ (Amy Poehler)นักแสดงรางวัลลูกโลกทองคำ ซึ่งจะทำหน้าที่เล่านวนิยายวัยรุ่นสุดขบถให้ออกมาเป็นภาพยนตร์ที่ร่วมตั้งคำถามสำคัญแห่งยุคสมัย
ความรักมักถูกเปรียบเปรยเพื่อการสร้างความเข้าใจ อุปมาของห้วงแห่งความรักเป็นได้ตั้งแต่สถานการณ์ในชีวิตประจำวันไปถึงการถูกแปรเป็นงานศิลปะ ภาพยนตร์ ดนตรี และที่คุ้นเคยที่สุดคือ อุปมาความรักในโลกของวรรณกรรม ดั่งวรรณกรรมไทยร่วมสมัย 3 เรื่อง ที่เราขอชวนมาอ่าน “ทฤษฎีรัก” ที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษรเหล่านั้น
ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสีลูกจีนโพ้นทะเล หนังสือเล่มล่าสุดจากสำนักพิมพ์สารคดี แม้ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจัดอยู่ในหมวดสารคดี/ประวัติศาสตร์ แต่ด้วยกลวิธีทางวรรณกรรมของ สุกัญญา หาญตระกูล ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเป็นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานหรือการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวในรูปแบบวรรณกรรมเชิงความทรงจำ (Memoir)
เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (Virginia Woolf) ผู้ตั้งคำถามกับขนบสตรีและงานวรรณกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนในการแหกขนบแหวกธรรมเนียมไม่ว่าโลกจะขยับเข้าสู่โลกดิจิทัลชื่อของนักเขียนผู้นี้ก็ยังคงสะท้อนก้องให้ได้ยินอย่างต่อเนื่องทั้งในขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีและงานวิชาการเชิงวรรณกรรมสมัยใหม่