นิทรรศการ Van Gogh. Life and Art ที่ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน – 31 ธันวาคม 2563 นำเสนอชีวิตและงานของ วินเซนต์ แวนโก๊ะ ในรูปแบบมัลติมีเดีย ผสมผสานทั้งเทคนิคทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวสลับไปกับเพลงคลาสสิก ในนิทรรศการมีการฉายภาพดิจิทัลผลงานของแวนโก๊ะราว 300 ชิ้น ในแต่ละช่วงชีวิตฉายวนเป็นรอบประมาณ 40 นาที
เชฟชาอูน (Chefchaouen) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และเป็นอีกไฮไลต์ของโมร็อกโก เหตุเพราะทั้งเมืองคุมโทนสีที่ไล่เฉดจากฟ้าไปน้ำเงิน โดยสีน้ำเงินคือสัญลักษณ์ของเทพเจ้า
อาซาบุ ซาโบะ (Azabu Sabo) แบรนด์ไอศกรีมเจลาโต้สัญชาติญี่ปุ่น เปิดบ้านใหม่เป็นหลังที่ 6 ในรูปแบบเจลาโต้บาร์ที่ ชั้น G สยาม พารากอน พร้อมเมนูพิเศษที่ได้ไอเดียมาจากสถานการณ์ช่วงโควิด-19
ใน ค.ศ. 1915 มีหนังชื่อThe Birth of a Nation ออกฉายเป็นหนังยาว 100 นาทีเรื่องแรกของโลกภาพยนตร์ แต่ในแง่เนื้อหากลับเป็นหนังที่ถูกโจมตี ผลิตซ้ำภาพจำของคนผิวดำที่สังคมผิวขาวมอบให้ และทำให้ The Birth of a Nation ปี 2016 ตั้งใจตั้งชื่อซ้ำเพื่อยึดคืนพื้นที่ประวัติศาสตร์ของคนผิวดำคืนมา
วิทยาศาสตร์ คำนี้เป็นเหมือนยาขมของใครหลายคน แต่นั่นไม่ใช่กับ ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และอินฟลูเอนเซอร์สายวิทยาศาสตร์คนยุคบุกเบิกที่ใส่ความรู้วิทย์แน่น ๆ แบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายลงในเพจ วิทยาศาสตร์สำหรับป๋องแป๋งคือวิชาพื้นฐานการเข้าใจชีวิตที่มนุษย์ทุกคนควรมีพื้นฐานติดตัว
โชน ปุยเปีย ลูกชายเพียงคนเดียวของศิลปินไฟน์อาร์ตชื่อดัง ชาติชาย ปุยเปีย และ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ ขอไม่เดินทางสายไฟน์อาร์ตแต่ก้าวเข้าสู่โลกแฟชั่นด้วยการเปิดแบรนด์เสื้อผ้าของตนเองในชื่อ Shone Puipia และสตูดิโอชื่อ soi sa:m ในซอยสวนพลู 3 กรุงเทพฯ เพื่อเป็นโชว์เคสผลงานออกแบบที่เขากล่าวว่าเป็น Cross-gender และ Sustainable Fashion
หลัง สงครามเขมรแดง จบลง เธอเป็นเด็กกลุ่มแรก ๆ ที่เริ่มเข้ามาฝึกรำตามแบบราชสำนักโบราณ Sam Sathya รู้ดีว่า การสร้างชาติหลังบอบช้ำด้วยอาวุธนานาชนิดใน สงครามเขมรแดง ไม่ใช่แค่การสร้างตึก หรือเพียงคำพูดแห่งสันติภาพ แต่จิตใจของผู้คนก็เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นทุกครั้งที่เธอร่ายรำ จึงเสมือนการซับน้ำตาผู้คนให้ร่วมกันกลับมาสร้างชาติอีกครั้ง
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เตรียมต้อนรับเหล่าคนรักศิลปะด้วยนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” โดยมี ท่านผู้หญิง สิริกิติยา เจนเซน เป็นภัณฑารักษ์ คัดเลือกภาพถ่ายฟิล์มกระจกจำนวน 105 ภาพจากคอลเลคชันของ สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่จะพาผู้ชมย้อนรอยไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7
เบื้องหลังกว่าจะเป็นภาพ Night Talk และเส้นทางการสร้างตัวเองเป็นศิลปินวาดภาพของ เจี๊ยบ ประชากุล ศิลปินชาวไทยและชาวเอเชียคนแรกที่คว้ารางวัลชนะเลิศ BP Portrait Award 2020 จาก National Portrait Gallery ประเทศอังกฤษมาครองได้