ธีระ วานิชธีระนนท์ ผู้ก่อตั้ง 333 Gallery และผู้เก็บสะสมงาน archive ของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ มาเป็นเวลาร่วม 13 ปีได้รีโนเวตแกลเลอรีสาขาถนนสุรศักดิ์ให้กลายเป็น หอจดหมายเหตุ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูใหญ่ของวงการศิลปะ
วัดราชประดิษฐ์ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 มีงานศิลปะโดดเด่นคือบานไม้ประดับมุกและแผ่นไม้ประดับรักลายนูนซึ่งเป็นงานศิลปะชั้นสูงของญี่ปุ่นอายุกว่า 150 ปีที่สั่งทำเป็นพิเศษเพื่อประดับตกแต่งวัดโดยเฉพาะ และงานศิลปะจำนวน 94 ชิ้นนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการอนุรักษ์โดยความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
รู้จักตัวตนที่กลั่นออกมาเป็นตัวอักษรของ Teayii หรือ เตยยี่-ประภัสสร กาญจนสูตร ศิลปินที่เรียกได้ว่ามาแรงที่สุดคนหนึ่งตอนนี้ที่หลายคนอาจคุ้นตาผลงานของเธอผ่านประโยคกระแทกใจใน IG
เส้นทางชีวิตรักของ เฟื้อ หริพิทักษ์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูใหญ่แห่งวงการศิลปะ กับ หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร คือตำนานศิลปินไส้แห้งกับหญิงสูงศักดิ์ และธีระ วานิชธีระนนท์ แห่ง 333 Gallery ผู้ซึ่งเก็บสะสมและรวบรวมสิ่งของ เอกสารและผลงานต่างๆของอาจารย์เฟื้อเป็นจำนวนมากได้นำบางส่วนมาจัดแสดงในรูปแบบ archive หรือแบบจดหมายเหตุ
Light of Life : นิทรรศการแสงไฟ กลไก และภาพเงา นำทัพศิลปินสื่อผสมรุ่นใหม่ และสตูดิโอชื่อดังของไทยมาร่วมสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางภารกิจปลุกไฟชีวิต ไร่แม่ฟ้าหลวง
กลับมาอีกครั้งพร้อมประเด็นสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมระดับโลกที่ร้อนแรงกว่าเดิม สะท้อนผ่านผลงานศิลปะกว่า 200 ชิ้นใน Bangkok Art Biennale 2022 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 จัดเต็มผลงานศิลปะจาก 73 ศิลปิน จาก 35 สัญชาติทั่วโลก
พิริยะ วัชจิตพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักสะสมงานศิลปะไทยและบริษัทประมูลงานศิลปะ The Art Auction Center รวมไปถึง บริษัท พิกเซลเพ้นท์ ที่นำงานศิลปะไทยเข้าสู่ตลาด NFT เปิดคลังสะสมงานศิลปะส่วนตัวที่เขาใช้เวลาร่วม 10 ปีเพื่อเก็บงานชิ้นสำคัญให้ครบตามไทม์ไลน์ของศิลปะสมัยใหม่ของไทย
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โฉมใหม่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่าพร้อมรับการจัดงานประชุมระดับนานาชาติภายใต้แนวคิดการออกแบบที่สะท้อนความเป็นไทยผ่านการดึงลวดลายผ้าทอราชสำนักและผ้าพื้นเมืองมาผสมผสาน และรักษางานศิลปะชั้นครูดั้งเดิมไว้
“แสงทำอะไรให้กับเมืองได้บ้าง” เมื่อนักออกแบบแสงจากกลุ่ม Lighting Designers Thailand (LDT) ตั้งคำถามถึงประโยชน์ของแสงไฟที่มีต่อพื้นที่และชุมชน โปรเจ็กต์ The Wall at Songkhla 2022 จึงเกิดขึ้น