ในวันที่โควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนักกลางเดือนมีนาคม Candide Books ก็เหมือนกับร้านหนังสืออื่นๆ ที่ต้องปิดหน้าร้านลง และกระโดดเข้าสู่ร้านหนังสือออนไลน์อย่างเต็มตัว ซึ่งก่อนหน้าวิกฤตินี้ Candide Books มีเว็บไซต์ขายหนังสือของตัวเองเปิดไว้รองรับเทรนด์ดิจิทัลนี้อยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้เน้นมากนัก พอทุกอย่างรวบตึงอยู่ในโลกออนไลน์แบบ 100 เปอร์เซนต์จริงจัง Candide Books ก็ต้องมีการปรับขยับตัวอีกรอบ
ยาขอบ เป็นนามปากกาของ โชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนที่มีผลงานตีพิมพ์สุดอมตะ นักอ่านส่วนใหญ่มักรู้จักในฐานะผู้แต่ง ผู้ชนะสิบทิศ งานดัดแปลงพงศาวดารพม่าสู่วรรณกรรมไทยที่ได้รับความนิยมจนต่อยอดมาเป็นสื่อภาพยนตร์ ละครวิทยุ-โทรทัศน์และยังคงเป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมถึงปัจจุบัน
รพินทรนาถ ฐากุร เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปิน นักเขียนชาวอินเดีย และชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม เขาผู้นี้ไม่ได้น่าสนใจเพราะเขียนบทกวีตั้งแต่ 8 ขวบ แต่เขาคือนักคิดที่หมั่นศึกษาค้นคว้าตั้งคำถามกับหลากหลายประเด็นที่ค่อนข้างท้าทายนักคิดในยุคสมัยนั้น ครบถ้วนทั้งเชิงสังคม ชาตินิยม ศาสนา วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การพัฒนาสังคม
เพชรพระอุมา คือ พนมเทียน นั้นไม่ได้เป็นคำยกยอที่เกินจริงเลย เพราะอมตะนิยายผจญภัยเรื่อง เพชรพระอุมา นั้นได้รวบรวมประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ ความรู้ต่างๆ ของฉัตรชัยตั้งแต่วัยเยาวว์ ทั้งเรื่องการเดินป่า การดำรงชีพในป่า การล่าสัตว์ ธรรมชาตินิสัยของสัตว์ป่า ไสยศาสตร์ เวทมนตร์ และกฎแห่งกรรม ขมวดมาอยู่ในเรื่องนี้ทั้งหมด
ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ นักเขียนชื่อดังเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้ประพันธ์นวนิยายผจญภัยสุดคลาสสิคเรื่อง เพชรพระอุมา เสียชีวิตในวัย 89 ปี แต่ผลงานหลากหลายแนวตั้งแต่ จินตนิยาย อาชญานิยาย นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน แนวผจญภัย แนวพาฝัน ตลอดจนสาระนิยาย มากกว่า 38 เรื่อง เช่น จุฬาตรีคูณ เล็บครุฑ เห่าดง และ ศิวาราตรี จะเป็นงานประพันธ์อมตะที่ครองใจผู้อ่านยาวนานต่อไปอีกหลายทศวรรษ
ในยุค Digital Disruption ที่สื่อสิ่งพิมพ์กำลังถูกท้าทาย ยังมีสีพาสเทลวิบวับ สำนักพิมพ์น้องใหม่ Pastel ภายใต้เครือบันลือกรุ๊ป ขอโฟกัสไปที่นวนิยายไทยที่มีมุมมองการเดินเรื่องที่แตกต่าง เข้มข้น สุดทาง และนี่ก็เพียงพอที่จะทำให้สปอตไลต์ในวงการวรรณกรรมไทยฉายลงมาที่สี Pastel
รวมกวีนิพนธ์ 8 เล่มเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A Write) ครั้งที่ 41 โดยจำนวนหนังสือที่ส่งประกวดครั้งนี้มีมากถึง 66 เล่ม มีแนวไร้ฉันทลักษณ์ส่งจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนในปีก่อนๆ โดยมีแนวฉันทลักษณ์ 30 เล่มแนวไร้ฉันทลักษณ์ 28 เล่มและผสมผสานทั้งสองแนวอีก 8 เล่ม
นักวิจัยสาขาวรรณกรรมประจำโครงการวิจัยการวิจารณ์ศิลปะ นอกจากงานวิชาการและบรรณาธิการที่เธอถนัด ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตทางด้านวรรณกรรมร่วมสมัยผู้นี้ยังผลิตงานวิจารณ์เองด้วย รวมถึงแอบเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเขียนหน้าใหม่อยู่เนืองๆ
2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Sarakadee Lite ขอประมวลพระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ บอกเล่าเรื่องราวกว่า 6 ทศวรรษ “เจ้าฟ้า” ผู้เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพ