เมื่อเอ่ยถึงโปรเจ็กต์การพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เป็นต้นแบบระดับโลก แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon) กรุงโซล เกาหลีใต้ คลองแห่งนี้เป็นคลองโบราณมีมานานก่อนราชวงศ์โชซอน ปัจจุบันคือเส้นทางที่ผสานวิถีชีวิตคนเมือง คุณภาพชีวิต การสืบสานศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรมความล้ำสมัยเข้าไว้ด้วยกัน
ชวนเที่ยว เมืองโรแมนติกอาเซียน ที่ซ่อนอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละเมืองนอกจากจะโรแมนติกทั้งในเรื่องสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม หรือสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลผสมผสานกลิ่นอายยุโรปแล้ว ยังอัดแน่นด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่จะทำให้ทริปนี้ไม่ได้มีแต่ความหวานโรแมนติกเท่านั้น
นิทรรศการ ความลับของโครงกระดูก (Skeleton’s Secrets) คัดเลือกโครงกระดูกของสัตว์กว่า 20 ชนิด มาจัดแสดงแบบผสมผสานระหว่างกายวิภาคศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ไม่ต้องเรียนวิทยาศาสตร์ก็สนุกได้
โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ เปิดตัวอาร์ตสเปซ ( ART Space ) โดยเน้นโปรโมตผลงานของศิลปินไทยด้วยการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนทุกไตรมาสภายใต้การบริหารจัดการของทีมงานพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย โมค่า แบงค็อก (MOCA BANGKOK)
30 มกราคม ของทุกปี ถูกยกให้เป็น National Croissant Day ขนมอบสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส ที่มีการสันนิษฐานว่าแท้จริงมาจาก“คิปเฟล” (Kipfel) ขนมอบรูปพระจันทร์เสี้ยวหอมกลิ่นเนยของเวียนนา
หนึ่งในนักวาดการ์ตูนชื่อดังที่เป็นตำนานของวงการมังงะยุคบุกเบิกของญี่ปุ่น ได้แก่ โชทาโร อิชิโนโมริ (Shotaro Ishinomori) ผู้ให้กำเนิดนักสู้แบบฉบับยอดมนุษย์ คาเมนไรเดอร์ (Kamen Rider) หรือ ไอ้มดแดง ที่มาของวลีปลุกใจสุดคลาสสิก "สู้เขา ทาเคชิ!"
เป็นเวลากว่า 300 ปีที่ “เหยือกเงินกะไหล่ทอง” เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนารายณ์ได้เดินทางไปถวายแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เดิมทีเหยือกชิ้นนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศส แต่ภายหลังตกอยู่ในวงจรการค้างานศิลปะ ท้ายสุดกลับคืนสู่พระราชวังแวร์ซายในฐานะมรดกของชาติด้านประวัติศาสตร์และศิลปะ
3 วรรณกรรมคลาสสิกที่ได้รับการแปลโดย ผุสดี นาวาวิจิต นักแปลผู้เป็นต้นแบบในวงการวรรณกรรม ซึ่งนอกจาก โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ยังมีงานแปลคลาสสิกอีกหลายเล่มที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะวรรณกรรมเยาวชน
คุยกับ โดม สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้ง และ ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่สุสานเก็บประวัติศาสตร์ฟิล์ม และไม่ได้จำกัดความหมายแค่สื่อเพื่อความบันเทิง ซึ่งที่สำคัญยิ่งกว่าภาพยนตร์ และศาสตร์ภาพเคลื่อนไหวคือสื่อที่ครองโลกมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 และก็ยังเป็นเช่นนั้นถึงปัจจุบัน