13 ตุลาคม 2559 เป็นวันเศร้าโศกที่สุดในศตวรรษของ ปวงชนชาวไทย ทันทีที่สำนักพระราชวังประกาศว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต
เสียงจาก พิณ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในเพลงหมอลำเท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่หันมาใช้พิณสร้างงานดนตรีพอปจนทำให้พิณกลายเป็นเหมือนเครื่องดนตรีสากลอื่น ๆ ที่นักฟังเพลงทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจ
#เดินหลงในดงดอก ชื่อนี้คือชื่อกิจกรรม และ ปากคลอง Strike Back เป็นชื่อของโครงการที่มีบรรดานักศึกษาปริญญา โท-เอกด้านสถาปัตยกรรมจากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นโต้โผ โดยผสมผสานนิทรรศการ street art การเล่นเกมไล่ล่าหา AR เข้ากับการเก็บข้อมูลชุมชนปากคลองตลาด
บ้านครัว ชุมชนมุสลิมเชื้อสายจามที่อพยพมาจากอาณาจักรจามปา และได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ 1 เพื่อตั้งชุมชน และกลายมาเป็นชุมชนผ้าไหมหนึ่งเดียวในกรุงเทพฯ ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ ติม ทอมป์สัน
ชวนผู้อ่านมาปักหมุดเก็บความทรงจำถึงสงขลาผ่าน ลายแทง “อาหารสงขลาจานสุดท้าย” อาหารท้องถิ่นเฉพาะเมืองสงขลาที่เดินทางมาถึงรุ่นสุดท้าย ที่อาจจะไม่มีผู้สืบทอดอีกต่อไป
เปิดตัว TCDC สงขลา อย่างเป็นทางการพร้อมเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2565 กับคอนเซปต์ Save the wall โดย ควอเทร์ อาคิเทค ผู้ชนะการออกแบบในปีนี้ที่เลือกหยิบแรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์อิฐดินเผาเกาะยอที่ปรากฏบนกำแพงเมือง
หลู่ซิ่น (Lu Hsun) นักเขียนผู้เป็นหมุดหมายสำคัญของวรรณกรรมจีนร่วมสมัย เจ้าของผลงาน ประวัติจริงของอาคิว (The True Story Of Ah Q) วรรณกรรมเล่มสำคัญที่พูดถึงการเปลี่ยนผ่านจากค่านิยมเก่าแบบขงจื้อที่มีการยึดหลักธรรมเนียมประเพณีแบบโบราณ ไปสู่โลกสมัยใหม่ที่ค่านิยมต่างๆ ถูกท้าทายจากสังคมและคนรุ่นใหม่
บอส-ชยางกูร เกตุพยัคฆ์เจ้าของแอ็กเคานต์ บอสเอง ใน TikTok เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ว่าไม่ใช่แค่คลิปตลกถึงจะปังและพอปใน TikTok แพลตฟอร์มการสร้างวิดีโอสั้นที่มาแรงที่สุดแห่งปี ค.ศ. 2020 แต่คอนเทนต์สายอาร์ตที่ผสมผสานการวาดรูปกับเรื่องเล่าตำนานพื้นบ้านไทยก็ได้รับความนิยมได้
Portrait of Songkhla นิทรรศการเพื่อบันทึกและส่งต่อเรื่องราวความทรงจำของสงขลาจากรุ่นสู่รุ่น จัดโดย CEA (Creative Economy Agency) ร่วมกับศิลปิน ช่างภาพชาวสงขลา ตั้งแต่วันที่ 11- 27 กันยายน พ.ศ. 2563