ศักราชใหม่ในห้วงอวกาศ หลัง NASA จับมือ SpaceX ส่งมนุษย์ไปอวกาศโดยเอกชน
Pic Talks

ศักราชใหม่ในห้วงอวกาศ หลัง NASA จับมือ SpaceX ส่งมนุษย์ไปอวกาศโดยเอกชน

Focus
  • NASA ได้จับมือกับ SpaceX ส่งนักบินอวกาศโดยยาน Crew Dragon จากแผ่นดินอเมริกาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (ISS) ได้เป็นผลสำเร็จในรอบ 9 ปี
  • จรวด Falcon 9 ภายใต้ภารกิจ Crew Demo-2 ออกจากฐานปล่อยจรวด ที่ ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 2.22 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 (ตามเวลาประเทศไทย)
  • นี่เป็นครั้งแรกที่อเมริกาใช้เทคโนโลยีด้านอวกาศของเอกชนอย่าง SpaceX หลังจากที่ใช้จรวด โซยุส (Soyuz) ของรัสเซียมาตลอด 9 ปี

ถือเป็นการเปิดปี 2020 ด้วยยุคอวกาศในศักราชใหม่อย่างเต็มตัวเลยก็ว่าได้เมื่อ NASA หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ได้จับมือกับ SpaceX บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศของอเมริกา ส่งนักบินอวกาศโดย ยาน Crew Dragon จากแผ่นดินอเมริกาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (ISS) ได้เป็นผลสำเร็จ

SpaceX
ยาน Crew Dragon

ภารกิจครั้งนี้ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในรอบ 9 ปีในหลายมิติ และมิติที่แน่นอนที่สุดคือ ต่อไปนี้อวกาศไม่ใช่เพียงพื้นที่การแข่งขันระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลชาติต่างๆ เพียงเท่านั้น อวกาศ ยังได้กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกอย่างSpaceX หรือแม้แต่ Boeing ได้ลงสนามแข่งขันอย่างเต็มตัว และนี่ก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้วว่าในอนาคตอเมริกาอาจจะลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและความช่วยเหลือด้านอวกาศจากรัสเซีย หลังจากที่ต้องพึ่งพาจรวด โซยุส (Soyuz) ของรัสเซียมาโดยตลอด 9 ปีเต็ม

SpaceX
SpaceX
ยาน  Crew Dragon

เมื่อเวลา 2.22 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 (ตามเวลาประเทศไทย) NASA และ SpaceXบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศของอเมริกา ได้ส่งจรวด Falcon 9 ซึ่งอยู่ภายใต้ภารกิจ Crew Demo-2 ออกจากฐานปล่อยจรวด ที่ ศูนย์อวกาศเคนเนดี  (NASA’s Kennedy Space Center) รัฐฟลอริดา

ยาน  Crew Dragon
ยาน  Crew Dragon
Elon Musk ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ SpaceX
ยาน  Crew Dragon
ซ้าย : Kathy Lueders ผู้บริหาร NASA’s Commercial Crew Program

และจากนั้นยาน Crew Dragon ได้เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในเวลา 21.29 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 (ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากที่กำหนดการเดิมคือ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ต้องถูกเลื่อนเพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อนักบินได้

ยาน  Crew Dragon
ยาน Crew Dragon

โรเบิร์ต เบห์นเคิน (Robert L. Behnken ) และ ดักลาส เฮอร์ลีย์ (Douglas G. Hurley) คือ นักบินอวกาศชาวอเมริกัน 2 คน ที่ได้ถูกบันทึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า เขาคือนักบินชาวอเมริกันที่ถูกส่งตัวจากแผ่นดินอเมริกาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี หลังจากที่นาซ่าและอเมริกายกเลิกโครงการกระสวยอวกาศ ในการส่งนักบินจากแผ่นดินอเมริกาขึ้นไปยังอวกาศในปี 2011 โดยมีเรื่องงบประมาณที่สูงลิบเป็นหนึ่งในปัจจัยของการล้มเลิกโครงการ และหันมาใช้จรวดโซยุสในการส่งนักบินอวกาศแทน ทั้งๆ ที่อเมริกามีการทุ่มงบพัฒนาเรื่องกระสวยอวกาศมาตั้งแต่ปี 1981

โรเบิร์ต เบห์นเคิน และ ดักลาส เฮอร์ลีย์ กับแผงควบคุมที่ทันสมัย
นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ต้อนรับสมาชิกใหม่ หลัง Crew Dragon ได้เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ

อีกหน้าประวัติศาสตร์ที่อาจจะเปลี่ยนโฉมห้วงอวกาศนับจากนี้ไปอย่างสิ้นเชิงก็เพราะนี่ก็เป็นครั้งแรกที่มีการใช้บริการจรวดและยานอวกาศจากภาคเอกชนซึ่งก็คือ SpaceX แทนจรวดและยานจากองค์การอวกาศของรัฐบาล ในแง่หนึ่งการเปิดให้ภาคเอกชนสามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปในอวกาศได้ นั่นก็หมายถึงการหงายการ์ดการพัฒนาอวกาศไปสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มตัว และเต็มกำลัง

ภายใน Node-2 สถานีอวกาศนานาชาติ

ในปัจจุบันได้มีชื่อของ Boeing และSpaceX เป็น 2 บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศยักษ์ใหญ่ที่ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลอเมริกาในการพัฒนา Commercial Crew Development หรือก็คือการขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ

เห็นแล้วก็ให้นึกถึงยุค Pre-Star Wars ขึ้นมาเลย อีกไม่นานอวกาศจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมเลยจริงๆ ซึ่ง SpaceX ก็ได้ย้ำแล้วว่าเขาไม่ได้หยุดที่ ISS แต่การส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ และดาวอังคาร หรือพื้นที่อื่นๆ ในห้วงอวกาศกำลังจะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน

ยาน  Crew Dragon
เซลฟี่นาทีแรกที่นักบินอวกาศลงจอดยังสถานีอวกาศนานาชาติ
SpaceX
เจ้าหน้าที่กำลังลุ้นการเชื่อมต่อยานกับสถานีอวกาศนานาชาติ
SpaceX
สถานีอวกาศนานาชาติ
SpaceX

อ้างอิงภาพและข้อมูล

  • องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา NASA
  • www.spacex.com