ในช่วงวันสงกรานต์ตามธรรมเนียมโบราณมักจะมีการไหว้ “เทวดานพเคราะห์” หมายถึง เทวดา 9 องค์ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ครองเรือนชะตาของมนุษย์ โดยความเชื่อนี้มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดู
กลับมาให้ร่วมสนุกอีกครั้งกับเทศกาลวัฒนธรรมระดับประเทศที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย (Water Festival) โดยในกรุงเทพฯ จะจัดขึ้นในบริเวณ 9 ท่าน้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทอดยาวริมโค้งน้ำที่ยาวที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยาในคอนเซ็ปต์ “9 ท่าน้ำวิถีไทย”
ถือเป็นกิจกรรมสั้นๆ แต่น่าสนใจอย่างมากสำหรับกิจกรรมสั้นๆ ตลอด 4 วัน ที่ทีมอาจารย์และนักศึกษาจาก สถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาชุบชีวิตทำให้ชื่อของ วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดร้างฝั่งธนบุรีที่มีอายุอานามกว่า 250 ปี ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
ถอดรหัสจิตรกรรม วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดร้างฝั่งธนบุรีที่ถูกสร้างมาก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ โดดเด่นด้วยงานสกุลช่างวังหน้าและภาพมหาสุทัสสนสูตรขนาดใหญ่
ครั้งแรกในรอบ 50 ปีกับการเปิด บ้านพระพิทักษ์ชินประชา อังมอเลา หรือ คฤหาสน์ในภูเก็ตอายุกว่า 119 ปีให้คนทั่วไปได้เข้าพัก ผ่านการจองในแพลตฟอร์ม Airbnb
ในฐานะเมืองหลวง “กรุงเทพฯ” ไม่ได้มีเพียงร้านอาหารไทยจากท้องถิ่นทั่วประเทศให้ได้เลือกลิ้มรสเท่านั้น เสน่ห์อาหารการกินที่บ่งบอกประวัติศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดีคือ “สำรับอาหารนานาชาติ” ที่นักกินสามารถเลือกลิ้มรสดั้งเดิมของอาหารจากประเทศต่าง ๆ ได้หลากหลาย
Coexistence นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรก โดย เจมส์-พิสุทธิ์ ศรีสุวรรณ กับการจัดแสดง 16 ผลงานภาพถ่ายที่ชวนผู้ชมเปิดมุมมองถึงความเป็นมนุษย์ที่ปราศจากสิ่งห่อหุ้ม รวมถึงความต้องการขั้นพื้นฐานทางธรรมชาติทั้งเรื่องเพศ เซ็กซ์ และรูปร่าง
เปิดเผยภาพโครงการออกมาแล้วสำหรับ “สวนลุมพินี” โฉมใหม่ที่เตรียมปรับปรุงครั้งใหญ่ในวาระครบรอบ 100 ปีสู่แนวคิดสวนที่ “เป็นมากกว่าสวนสาธารณะ” ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นใน พ.ศ.2568
จากการสำรวจของกลุ่มลูกว่าพบว่าเสาของศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามที่มีลวดลายไทยโบราณนั้นมีอยู่ด้วยกัน 16 ต้น (8 คู่) และมีเสาที่ลวดลายไม่ซ้ำกันอยู่ถึง 12 ต้น ด้วยความคิดที่ต้องการอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น จึงเริ่มลอกลายจากเสาจริงและนำมาจัดแสดงไว้ที่หอศิลป์สุวรรณารามเพื่อจำลองให้เห็นความงดงามของลายฉบับเต็ม