UNFOLDING BANGKOK ตอน Hidden Temple ซีรีส์ 2 “วัดร้างกับพื้นที่ชุมชน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-18 ธันวาคม 2565 พามาค้นพบวัดร้างและวัดลับๆ ของย่านบางกอกน้อยที่ชื่อ “วัดภุมรินทร์ราชปักษี” เป็นวัดที่โดดเด่นด้วยงานศิลปะของช่างสกุลวังหน้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพื้นที่ที่ผสมผสานระหว่างพุทธ ผี และชุมชน
หอศิลป์แห่งชาติ แห่งใหม่ กระทรวงวัฒนธรรม ได้เปิดพื้นที่จัดแสดงงานบางส่วนให้ผู้สนใจได้เข้าชมเป็นครั้งแรกกับนิทรรศการนำร่องที่นำเสนอผลงานสะสมประจำปีงบประมาณ 2565 ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จำนวน 97 ชิ้นจาก 20 ชุดผลงานของ 16 ศิลปินไทยร่วมสมัย
ผู้ชมที่ติดใจในเอกลักษณ์การกำกับภาพยนตร์ตลกชนิดแม่นจังหวะของ พฤกษ์ เอมะรุจิ จากเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของคนหาเช้ากินค่ำในสังคมไทยที่เขาเคยสร้างมาแล้วใน ไบค์แมน ศักรินทร์ตูดหมึก หยิบตัวละครเอกหาเช้ากินค่ำมาดำเนินเรื่องเพื่อฉายให้เห็นความทุกข์และการถูกกดทับจากสังคมที่เหลื่อมล้ำ การสะท้อนสังคมไทยใส่ความตลกร้ายของพฤกษ์กลับมาอีกครั้งใน ปฏิบัติการกู้หวย
แจกพิกัดซอกแซกเที่ยวย่านเก่า บางลำพู ชุมชนที่มาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นย่านที่ชาวกรุงเทพฯ คุ้นตา แต่แท้จริงแล้วอาจไม่เคยรู้จัก
รู้จัก ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ กวีหญิงคนที่ 2 ในรอบ 44 ปี ที่สามารถคว้ารางวัลยอดเยี่ยมของการประกวด วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ กับผลงาน จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้
จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ โดย ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ สำนักพิมพ์ ผจญภัย สามารถคว้ารางวัลกวีซีไรต์ 2565 มาครองได้ ถือเป็นกวีหญิงคนที่ 2 ในรอบ 44 ปี ที่มีการจัดงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ที่สามารถคว้ารางวัลซีไรต์ ประเภทกวีนิพนธ์
It’s Me, Warbie! The Inside World of Warbie Yama เป็นนิทรรศการเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทยที่นำผู้ชมเข้าสู่โลกของ วอร์บี้ (Warbie) เจ้านกสีเหลืองว่องไวจอมกวนกับ คุณลุงยามะ (Yama) ผู้เชื่องช้าใจดี จากคาแรกเตอร์สุดฮิตในสติกเกอร์ไลน์ของ อรุษ ตันตสิรินทร์
A New Encounter, Immersive Gallery of Korean Art เป็นการนำมรดกวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของเกาหลีมานำเสนอใหม่ในรูปแบบดิจิทัลเสมือนจริง เช่น ภาพวาดที่บันทึกใน อึย-คเว (Uigwe) หรือแบบธรรมเนียมในราชสำนักเกี่ยวกับพระราชพิธีของราชวงศ์โชซอน และภาพพุทธศิลป์โบราณเกี่ยวกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
Theatre To Go เกิดขึ้นจากกลุ่มศิลปินการแสดงและนักออกแบบชาวไทย นำละครเวที ศิลปะการแสดง มาบรรจุกล่องผนวกเข้ากับเทคโนโลยี AR (augmented reality) ช่วยให้ผู้ชมสามารถเสพศิลปะการแสดงได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างไร้ข้อจำกัด