DO Farm มาจากคำว่า Dusit Organic Farm ฟาร์มผัก ของ ดุสิตธานี หัวหิน ที่เกิดจากการชุบพื้นที่ซึ่งแต่เดิมเป็นส่วนของคอกม้า ลานวิ่งของม้า ให้กลับมาดูมีชีวิตด้วยพืชผักผลไม้ออร์แกนิก
ตะเกียบ เป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ของชาวจีนและชนชาติเอเชียมาช้านาน หลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือตะเกียบอายุกว่า 3,200 ปีซึ่งถูกขุดค้นพบที่สุสานในประเทศจีน
พิพิธภัณฑ์ บ้านจิม ทอมป์สัน กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังปิดไปร่วม 2 เดือนจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ไฮไลต์ของที่นี่คือหมู่เรือนไทยและศิลปโบราณวัตถุล้ำค่าซึ่งเป็นของสะสมของ เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน อดีตสายลับซีไอเอผู้ต่อมากลายเป็นคนบุกเบิกอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยภายใต้แบรนด์จิม ทอมป์สัน จนได้รับฉายา “ราชาผ้าไหมไทย”
ชีวิตในหลายแง่มุมที่หลายคนไม่รู้จักของ คัตสึชิกะ โฮะคุไซ (Katsushika Hokusai) เจ้าของภาพพิมพ์แกะไม้รูปคลื่นยักษ์ “The Great Wave” ที่โด่งดังไปทั่วโลกจะถูกถ่ายทอดในหนังเรื่องใหม่ “Hokusai”
วิทยาศาสตร์ คำนี้เป็นเหมือนยาขมของใครหลายคน แต่นั่นไม่ใช่กับ ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และอินฟลูเอนเซอร์สายวิทยาศาสตร์คนยุคบุกเบิกที่ใส่ความรู้วิทย์แน่น ๆ แบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายลงในเพจ วิทยาศาสตร์สำหรับป๋องแป๋งคือวิชาพื้นฐานการเข้าใจชีวิตที่มนุษย์ทุกคนควรมีพื้นฐานติดตัว
Airbnb Experiences บริการจาก Airbnb ที่มีให้นักท่องเที่ยวได้จองเข้าร่วมกิจกรรมและสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวจากผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก เปิดตัวเอ็กซ์พีเรียนออนไลน์แล้วเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและทำให้นักเดินทางได้รู้สึกเหมือนกำลังท่องโลกอีกครั้ง
นับย้อนไปวันนี้เมื่อ 50 ปีก่อน 22 เมษายน ค.ศ.1970 วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในวันนั้นได้มีนักอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งร่วมกันจัดกิจกรรมแสดงพลังครั้งใหญ่ และมีพลเมืองอเมริกันที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกว่า 20 ล้านคน พร้อมใจกันมาออกมาชุมนุมประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก
ฟิล์ม-พิชเญศ ใจทหาร เจ้าของเพจ The Way I Bike ชายสูทน้ำเงินผู้ตัดสินใจออกจากวิถีประจำวันด้วยการให้เวลาตัวเองหนึ่งปี พักงานแล้วออกไปปั่นจักรยานเที่ยวให้ทั่วเมืองไทย ซึ่งแรงบันดาลใจเกิดจากเรื่องราวการปั่นรอบโลกที่เขาเคยอ่าน แต่สิ่งสำคัญกว่าการอ่านหาแรงบันดาลใจคือการที่เขาตัดสินใจว่า จะลงมือทำหรือไม่ทำ
สวนลุมพินี ปอดใจกลางกรุงเทพฯ แห่งนี้คือ สวนธารณะแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งนั้นพระองค์ได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวน 360 ไร่ ให้เป็น “วนสาธารณ์” หรือ “สวนสาธารณะ” แก่ประชาชน