10 เรื่องจริงยิ่งกว่านิยายของ ซูเปอร์สตาร์ยิมนาสติก “อมรเทพ แววแสง”
- ท่า “กางเขนเหล็ก” ทำให้ชื่อของ อมรเทพ แววแสง กลายเป็นที่จดจำในฐานะนักกีฬาไทยม้ามืดในวงการยิมนาสติกทั้งในเอเชียและแปซิฟิก
- ในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 30 อมรเทพได้เข้าร่วมเป็นโค้ชฝึกฝนนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติไทย
“หมูมีแผนของตัวเองตลอดว่า วันนี้จะทำอะไร หลังจากนี้จะทำอะไรต่อไป เพราะหมูเกิดจากไม่มีอะไร ก็พยายามมาตลอด สู้ด้วยตัวเองมาตลอด ไม่เคยมีใครมานั่งโอ๋ ไม่เคยมีครอบครัวอยู่ในวงการ จุดมุ่งหมายหลักคือ เราต้องอดทน ทำให้ได้อย่างที่เราคิด ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ได้ก็คือได้ ไม่กลัวคู่ต่อสู้”
อมรเทพ แววแสง
วงการกีฬายิมนาสติกไทย มีซูเปอร์สตาร์ที่กลายเป็นตำนานตัวแทนประเทศไทยทั้งในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ เจ้าของท่า “กางเขนเหล็ก” ที่ทั้งเฉียบและคม อมรเทพ แววแสง กับ ความสำเร็จที่ยังไร้เทียมทาน พบกับ 10 เรื่องที่จะทำให้คุณได้รู้ว่า กว่าจะถึงจุดสูงสุดนั้นต้องทุ่มเทขนาดไหน #เป็นนักกีฬามันเหนื่อย
จากเด็กแฟลตดินแดนสู่นักกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
อมรเทพ (แววแสง) อุ่นใจ ชื่อเล่น หมู เด็กน้อยเติบโตในย่านแฟลตดินแดง กรุงเทพฯ ครอบครัวฐานะไม่ดี ชีวิตแวดล้อมด้วยเพื่อนติดยา 16 ปีนับจากวันที่เริ่มเล่นกีฬายิมนาสติกที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง อมรเทพกลายเป็นหนึ่งในนักกีฬาตัวเต็งและความหวังของทีมชาติไทยในการคว้าเหรียญทองจากงานมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 หรือบางกอกเกมส์ ซึ่งรวมทัพนักกีฬาจากประเทศทั่วเอเชีย ลงชิงชัยกันระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคมพ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ
อมรเทพถนัดอุปกรณ์ประเภทห่วง และท่าถนัดคือท่า “กางเขนเหล็ก” หรือท่าพระเยซู และ ท่าเครื่องบิน โดยเฉพาะท่ากางเขนเหล็กเป็นท่าที่ต้องใช้ความแข็งแรง ทุกคนที่มาถึงระดับชาติเล่นท่านี้ได้ จุดตัดสินเกมแพ้-ชนะในช่วง 20 วินาทีของการแข่งขันแต่ละท่าคือ “ความนิ่งและเฉียบคม” ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงจับห่วงให้นิ่ง และวัดความเลิศจากใครทำท่ายึดแขนสองข้างเป็นเส้นตรง ได้ตรงกว่ากัน มือทั้งสองยึดห่วงนิ่งไม่สวิงไปมา และเหยียดตัวให้อยู่ในองศาขนานพื้นโลกได้มากที่สุด 3. อุปกรณ์ห่วงนิ่งคะแนนสูง 9.8 (เต็ม 10)
หนึ่งเหรียญทองประวัติศาสตร์ ประเภทอุปกรณ์ห่วงนิ่งของอมรเทพสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ด้วยคะแนนสูงลิ่วถึง 9.8 (เต็ม 10) ในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2541 ถือได้ว่าอมรเทพเป็นนักยิมนาสติกไทยคนแรกและคนสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งจากจีนได้สำเร็จ
นักยิมนาสติกไทยคนแรกที่ชนะในกีฬาแพนแปซิฟิกเกมส์
สองเหรียญทองจากประเภทห่วงและราวคู่ ในกีฬาแพนแปซิฟิกเกมส์ ส่งให้อมรเทพเป็นนักกีฬายิมนาสติกไทยคนแรก ที่สามารถทุบสถิตินี้ได้โดยมีตัวแทนจากประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกรวมสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลงแข่งด้วย
หนึ่งเดือนหยุดซ้อมเพียง 4 วัน
สามเวลา สัปดาห์ละ 6 วัน คือ ตารางเวลาการฝึกซ้อมช่วงเตรียมแข่งเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ภายใต้การดูแลของโค้ชชาวรัสเซียชื่อนิโคไล
ในหนึ่งวันต้องซ้อมทั้งม้าหู ห่วง และราวคู่
4 ท่าชุดต่อ 1 อุปกรณ์ คือกฎเหล็กของอมรเทพในการฝึกซ้อม3 อุปกรณ์หลักสำหรับการแข่งขันยิมนาสติก ได้แก่ ม้าหู ห่วง และราวคู่ โดยหนึ่งท่าชุดจะมีท่าต่อเนื่องกันรวมสิบท่า นั่นหมายความว่าในแต่ละอุปกรณ์ต้องซ้อมถึง 40 ท่า รวมสามอุปกรณ์ก็ซ้อมกันไป 120 ท่า
ชีวิตพลิกด้วยการคว้า 5 เหรียญทองซีเกมส์
ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ จัดที่เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2538 อมรเทพสามารถคว้า 5 เหรียญทองกีฬายิมนาสติก ซึ่งนั่นได้เปลี่ยนชีวิตของเขาจากเด็กแฟลตดินแดงให้เป็นซูเปอร์สตาร์นักกีฬายิมนาสติก เป็นเศรษฐีจากเงินของสปอนเซอร์ และได้โบนัสจากผู้จัดการทีมชาติไทยยิมนาสติก (ดอกเตอร์จักรชัย อุ่นใจ) เป็นบ้านใหม่ที่เมืองทองธานี รถสปอร์ตหนึ่งคัน และเงินสดจำนวนหนึ่ง
ใช้นามสกุล “อุ่นใจ” แทน “แววแสง”
อมรเทพ แววแสง เปลี่ยนมาใช้นามสกุล “อุ่นใจ” เพื่อระลึกถึงพระคุณของดอกเตอร์จักรชัย ผู้จัดการทีมชาติที่เขานับถือเป็นพ่อคนใหม่)
เก็บตัว 10 เดือนเต็มรับบางกอกเกมส์
10 เดือนเต็ม ช่วงมกราคมถึงตุลาคม 2541 อมรเทพเก็บตัวเพื่อลงแข่งบางกอกเกมส์ “ฝึกซ้อม สม่ำเสมอ เล่นเยอะๆ นานๆ บ่อยๆ” คือคติสู่ความสำเร็จของเขา
ก่อตั้งยิมนาสติกคลับ
ปัจจุบัน อมรเทพ แววแสง เปิดกิจการศูนย์ฝึกสอนกีฬายิมนาสติก ในชื่อ อมรเทพ ยิมนาสติกคลับ และร่วมเป็นโค้ชฝึกซ้อมนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติไทย เตรียมสู้ศึกกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -11 ธันวาคม ปี 2562 ที่ ฟิลิปปินส์ และ ชุดเตรียมสู้ศึกโอลิมปิกที่โตเกียว ปี 2563
ต้นเรื่อง : เรื่องจากปก นิตยสารสารคดี ฉบับ 165 เดือน พฤศจิกายน 2541