ไขทุกข้อสงสัยก่อนซื้อและใช้ ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit แบบ Home Use
- ชุดตรวจ Antigen Test Kit แบบ Home Use เป็นชุุดตรวจสำหรับการทดสอบด้วยตัวเอง ที่ผู้ตรวจสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย และได้ผลค่อนข้างแม่นยำ
- การใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองต้องระวัง เพราะหากซื้อผิดไปใช้ Professional Use แล้วทำการสวอบผิดวิธี ไม่ได้ไต่ไม้สวอปไปตามโพรงจมูกอาจเกิดอันตรายได้
ตอนนี้ร้านขายยาและสถานพยาบาลหลายแห่งในไทย (รวมทั้งในอินเตอร์เน็ต) เริ่มมีการขาย ชุดตรวจโควิด ด้วยตัวเอง เป็นชุดตรวจ Antigen Test Kit แบบ Home Use ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อกลับมาตรวจเองที่บ้านได้อย่างสะดวก แต่การตรวจนั้นจะปลอดภัยและได้ผลแม่นยำหรือไม่ การเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ก่อนซื้อเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเลือกผิดนิดเดียวจาก Home Use ใช้ที่บ้านเป็นแบบ Professional Use ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางกรแพทย์ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นติดเชื้อในสมองได้ Sarakadee Lite จึงขอส่งต่อเรื่องต้องรู้ก่อนใช้ ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit แบบ Home Use
Antigen Test Kit แบบ Home Use คืออะไร
เป็นชุุดตรวจหา Nucleocapsid แอนติเจนของเชื้อไวรััส SARS-CoV-2 เชิงคุุณภาพ โดยใช้ตัวอย่าง Nasal swab ซึ่งก็คือ การเก็บเชื้อในโพรงจมููกด้านหน้าของผู้ที่่มีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นโควิด-19 หรือ ผู้ที่มีความเสี่ยงว่าไปสัมผัสกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดย หากระบุว่าแบบ Home Use หมายถึงชุุดตรวจสำหรับการทดสอบด้วยตัวเอง ที่ผู้ตรวจสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย และได้ผลค่อนข้างแม่นยำ
ประเภทของชุดตรวจ
- Home Use : สำหรับชุดตรวจโควิด-19 ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อมาตรวจได้เองต้องมีคำว่า Home Use หรือ Self Test ระบุชัดเจนที่บรรจุภัณฑ์ เพราะชุดอุปกรณ์การตรวจได้ถูกออกแบบมาแล้วว่าใช้เก็บเชื้อด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย โดยใช้เชื้อการเก็บเชื้อ (โปรตีน) ที่บริเวณโพรงจมูกด้านหน้า (Nasal Swab) ไม่ใช่การเก็บเชื้อที่หลังโพรงจมูกที่ลึกเข้าไป ดังนั้นลักษณะของก้านสวอบ (Swab) ที่ออกแบบมาสำหรับ Home Use จึงมีลักษณะก้านสั้นและมีความแข็งกว่าแบบชุดตรวจ Professional Use ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแหย่ก้านสวอบที่ค่อนข้างยาวไปเก็บเชื้อที่ด้านหลังโพรงจมูก
- Professional Use : ชุดตรวจ Antigen Test Kit นั้นมีอีกประเภทที่เป็น Professional Use บรรจุในกล่องคล้ายกับชุด Home Use แต่จะมีจำนวนชุดตรวจที่มากกว่า มักใช้ในสถานพยาบาล หรือ โรงงานที่มีบุคลากรทางการแพทย์ประจำ ซึ่งความต่างจากชุดตรวจที่บ้านมีนิดเดียวนั้นคือก้านสวอบที่มีขนาดยาวและอ่อนตัวกว่าเพื่อที่จะได้ทำการเก็บเชื้อที่โพรงจมูกด้านในได้ และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจ แต่ที่ผ่านมาเนื่องจาก ชุดตรวจโควิด ด้วยตัวเองหายาก และยังไม่มีการขึ้นทะเบียนจาก อย. จึงมีผู้ขายบางคนนำชุดตรวจ Professional Use แยกขายตามอินเตอร์เน็ต ซึ่ง ทน.พญ. สมจิตร์ จินาภักดิ์ เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์ ได้ออกมาเตือนว่า เคยมีเคสที่คนใช้แบบ Professional Use แล้วทำการสวอบผิดวิธี ไม่ได้ไต่ไม้สวอปไปตามโพรงจมูก แต่เป็นลักษณะแยงขึ้นด้านบนจนไปถึงสมองและทำให้น้ำในสมองไหลออกมาจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ก่อนซื้อชุดตรวจแบบ Home Use ต้องเช็ค
- ต้องมีคำว่า Home Use หรือ Self Test บนบรจุภัณฑ์
- ตรวจสอบวันหมดอายุ
- ต้องเป็นชุดตรวจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยดูจากฉลาก และสามารถเช็คได้ที่ไลน์เทคนิคการแพทย์ @MedTech_Hotline
- ไม่แนะนำให้ซื้อแบบแบ่งขาย แต่ให้ซื้อเป็นกล่องที่ยังไม่มีการเปิดใช้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดผลบวกปลอมได้ โดยด้านในกล่องจะประกอบไปด้วยชุดตรวจประมาณ 5 ชุด (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ) ที่สำคัญบนกล่องจะมี QR ให้สแกนดูขั้นตอนการใช้อย่างละเอียด
- ควรซื้อที่ร้านขายยาที่มีเภสัชกร หรือสถานพยาบาล เพื่อที่จะได้แนะนำการใช้อย่างถูกวิธี
วิธีการใช้งาน
- ทำความสะอาดมือ และพื้นที่ที่จะวางอุปกรณ์ต่าง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนที่อาจทำให้เกิดผลบวกปลอมได้
- เมื่อแกะชุดตรวจออกมาแล้วควรตรวจสารกันความชื้นว่าเปลี่ยนสีหรือไม่ (เปลี่ยนสีคือชื้นเกินไป) เพราะหากเก็บชุดตรวจในสถานที่ชื้นเกินไป อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของน้ำยาที่จะใช้ตรวจ
- เปิดฝาหลอดสารละลาย และนำ ไปวางไว้ในแท่นที่ให้มาตามคำแนะนำของแต่ละยี่ห้อ
- เคลียร์จมูกโดยการสั่งน้ำมูกทิ้งออกมาก่อนเพื่อให้โปรตีนที่อยู่หลังโพรงจมูกด้านในออกมา สำหรับคนที่ฉีดยาพ่นสมูกต่างๆ แนะนำให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
- นำไม้สวอบสำหรับเก็บตัวอย่าง สอดเข้าไปในโพรงจมูกประมาณ 2 เซนติเมตร (หรือตามที่แต่ละยี่ห้อแนะนำแต่สำหรับชุดตรวจแบบ Home Use จะประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร) และหมุนไปรอบๆ ให้สมัผัสกับผนังโพรงจมูกประมาณ 4-5 รอบต่อข้างโดยไม่ต้องออกแรงกด และทำการเก็บเชื้อในโพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง ระวังห้ามจับปลายไม้สวอบด้านนุ่มอย่างเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน
- นำไม้สวอบใส่ไปในสารละลายที่อยู่ในหลอด แล้วหมุนก้านไม้ให้ได้อย่างน้อย 10 รอบ พยายามผสมตัวอย่างเชื้อในสารละลายให้ได้มากที่สุดโดยอาจบีบที่หลอดเล็กน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าได้รีดสารละลายออกจากก้านไม้หมดแล้ว
- นำฝาพลาสติกสำหรับหยดมาปิดหลอดสารละลาย
- หยดสารละลายลงบนชุดตรวจ ย้ำว่าเพื่อให้ได้ผลแม่นยำสุดให้หยดตามจำนวนที่คู่มือของชุดตรวจแต่ละยี่ห้อระบุไว้ โดยตอนหยดให้ตั้งหลอดสารละลายในแนวตั้งตรง
- ใช้นาฬิกาจับเวลาตามที่แต่ละยี่ห้อระบุไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15 นาที ไม่ควรทิ้งนานเกินไปเช่นมากกว่า 30 นาที หรือข้ามวัน เพราะอาจจะทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้
วิธีการอ่านผล Antigen Test Kit
- แถบสีแดงชี้ผล C : ผลตรวจเป็นลบ ไม่น่าจะติดโควิด-19 แต่หากรู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ ให้ยังคงกักตัวเอง ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งใน 3-5 วัน และกักตัวเองจนครบ 14 วัน
- แถบสีแดงชี้ผลที่ C และ T : ผลตรวจเป็นบวก แปลว่าติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งบางคนแถบสีแดงตรงตัว T อาจจะจางก็แปลว่ามีโอกาสสูงในการติดเชื้อโควิด-19 เช่นกัน โดยในทันทีที่ทราบผลให้แยกกักตัวจากคนที่บ้าน และสำรวจตัวเอง หากเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่หนักให้ประสานเบอร์โทร 1668 เข้าระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ของทางรัฐบาลได้ทันทีโดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลอีกครั้ง ส่วนถ้าเริ่มมีอาการหายใจหอบ เหนื่อย มีไข้สูงให้โทร 1669 ประสานเข้าระบบการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบางกรณีการขึ้นแถบสีแดงแบบนี้อาจเป็นผลบวกปลอมอันเนื่องมาจากชุดตรวจมีการปนเปื้อน
- ไม่ขึ้นแถบใดๆ เลย : หมายถึงชุดตรวจมีปัญหา การตรวจครั้งนี้มีข้อผิดพลาด
- แถบสีแดงเข้มชี้ผล T : หากไม่มีแถบสีแดงชี้ผลที่ตัว C ร่วมด้วย แต่ไปขึ้นที่ T อย่างเดียว หมายถึงชุดตรวจมีปัญหา การตรวจครั้งนี้มีข้อผิดพลาด
เก็บรักษา
- เก็บชุดตรวจ Antigen Test Kit ในอุณหภูมิ 2-30 องศาเซลเซียส
- หลีกเลี่ยงสถานที่เก็บที่โดนแสงแดดโดยตรง หรือมีความชื้น
- เก็บในตู้เย็นได้ แต่ห้ามใส่ในช่องแช่แข็ง ทั้งนี้หากเก็บในตู้เย็น เวลาใช้ควรนำออกมาวางไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 30 นาทีก่อนใช้
ทิ้งอย่างไรให้ปลอดภัย
อย่าลืมว่าชุดตรวจโควิด-19 Antigen Test Kit ที่ใช้แล้วมีสารคัดหลั่งของผู้ใช้ปนเปื้อนแม้ว่าผลจะออกมาเป็นลบก็ต้องระวัง ดังนั้นเมื่อใช้เสร็จให้นำชุดอุปกรณ์ทั้งหมดใส่กลับไปในซองใส่น้ำยาล้างจาน หรือน้ำยาฆ่าเชื้อลงไป เพื่อทำการฆ่าเชื้อ จากนั้นปิดซองให้สนิทก่อนทิ้ง ถ้าทำได้ให้แยกทิ้งในถังขยะติดเชื้อ
อ้างอิง
ข้อมูลจาก ทน.พญ. สมจิตร์ จินาภักดิ์ เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์ ในงานเสวนาการอนุมัติขึ้นทะเบียนชุดตรวจโควิด19 ด้วยตัวเองแบบ Home Use จากโรช (Roche) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564
Fact File
- บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) นำเข้าชุดตรวจโควิดยี่ห้อ Roche ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ยี่ห้อชุดตรวจโควิด-19 ที่ช ได้รับกำรอนุมัติจากสำนักงำนคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 โดยเริ่มวางจำหน่ายชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit แบบ Home Use ตามร้านขายยาทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2564