ถือเป็นกิจกรรมสั้นๆ แต่น่าสนใจอย่างมากสำหรับกิจกรรมสั้นๆ ตลอด 4 วัน ที่ทีมอาจารย์และนักศึกษาจาก สถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาชุบชีวิตทำให้ชื่อของ วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดร้างฝั่งธนบุรีที่มีอายุอานามกว่า 250 ปี ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
ถอดรหัสจิตรกรรม วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดร้างฝั่งธนบุรีที่ถูกสร้างมาก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ โดดเด่นด้วยงานสกุลช่างวังหน้าและภาพมหาสุทัสสนสูตรขนาดใหญ่
Coexistence นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรก โดย เจมส์-พิสุทธิ์ ศรีสุวรรณ กับการจัดแสดง 16 ผลงานภาพถ่ายที่ชวนผู้ชมเปิดมุมมองถึงความเป็นมนุษย์ที่ปราศจากสิ่งห่อหุ้ม รวมถึงความต้องการขั้นพื้นฐานทางธรรมชาติทั้งเรื่องเพศ เซ็กซ์ และรูปร่าง
ส่องลายคราม สืบหาจีนกรุงศรีฯ ผลงานเขียนและรวบรวมข้อมูลเครื่องลายครามเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและสังคมจีนในไทย และนักสะสมเครื่องลายคราม
จากการสำรวจของกลุ่มลูกว่าพบว่าเสาของศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามที่มีลวดลายไทยโบราณนั้นมีอยู่ด้วยกัน 16 ต้น (8 คู่) และมีเสาที่ลวดลายไม่ซ้ำกันอยู่ถึง 12 ต้น ด้วยความคิดที่ต้องการอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น จึงเริ่มลอกลายจากเสาจริงและนำมาจัดแสดงไว้ที่หอศิลป์สุวรรณารามเพื่อจำลองให้เห็นความงดงามของลายฉบับเต็ม
ย้อนประวัติศาสตร์ หมอลำ กับ หมอลำพื้น ซึ่งเป็นหมอลำโบราณหาฟังยาก ทว่าเป็นพื้นฐานของหมอลำยุคใหม่ที่สร้างเศรษฐกิจพันล้านในภาคอีสาน
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เมืองเก่าสงขลาได้กลายเป็นพื้นที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ย้อนเล่าความรุ่งเรืองของ เส้นทางสายไหมทางทะเล ที่นำพาซีกโลกตะวันตกมาบรรจบพบฝั่งตะวันออก ณ ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ในนิทรรศการ “ศิลป์สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล”
การค้นพบภาพเขียนสีฝุ่นบนผ้าใบของ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) ศิลปินชาวอิตาลีผู้เขียนภาพบนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมไม่เพียงเป็นการค้นพบงานศิลปะทรงคุณค่าของศิลปินชื่อดัง แต่ยังเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่และเป็นงานที่ท้าทายของนักอนุรักษ์ในการบูรณะภาพเขียนขนาดใหญ่เกือบ 10 เมตร อายุกว่า 100 ปี
ความนิยมในการเล่นเครื่องถ้วยกระเบื้องจีนของชาวสยามมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนเข้าสู่ยุคทองในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการประกวดการตั้งโต๊ะเครื่องบูชาด้วยเครื่องกระเบื้องแบบจีนตามความนิยมอย่างสยามจนภายหลังมีการตราพระราชบัญญัติข้อบังคับในการตัดสินเครื่องโต๊ะ ร.ศ. 119 ซึ่งยังไม่ได้มีการยกเลิกมาจนถึงปัจจุบัน