นิทรรศการเซรามิกญี่ปุ่น จำนวน 97 ชิ้นจากพิพิธภัณฑ์เซรามิกแห่งคิวชูซึ่งส่วนใหญ่มาจากเตาเผาเมืองอาริตะ จังหวัดซากะอันเป็นต้นกำเนิดการผลิตเครื่องกระเบื้องของญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ที่ได้นำมาจัดแสดงในนิทรรศการหมุนเวียน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ด้วยความที่วัดเบญฯ เป็นวัดหลวงสำคัญ การสำรวจและอนุรักษ์คำภีร์ใบลานที่วัดแห่งนี้จึงคาดว่าน่าจะพบ คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสร้างขึ้น โดยเฉพาะต้นฉบับคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานฉบับสมบูรณ์ชุดแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
คอลเล็กชันเซรามิกจำนวน 97 ชิ้น จากพิพิธภัณฑ์เซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่นได้นำมาจัดแสดง ร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลากหลายแหล่งผลิตจำนวน 90 รายการในนิทรรศการหมุนเวียน “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครระหว่างวันที่ 14 กันยายน-14 ธันวาคม พ.ศ. 2565
เที่ยว 25 วัดทั่วไทยที่โดดเด่นด้วยงานจิตรกรรมฝาผนัง มีให้เลือกชมทั้งผลงานช่างหลวง ช่างชาวบ้าน ซึ่งล้วนสอดแทรกวิถีชีวิต เรื่องเล่า ตำนานของในแต่ละท้องถิ่นไปจนถึงศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบัน
เปิดประตูอุโบสถ วัดสุทธิวราราม วัดเก่าแก่สมัยกรุงธนบุรีอายุกว่า 250 ปีที่ตอนนี้ถูกปรับโฉมใหม่ให้พุทธศาสนาเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายและสนุกขึ้นผ่านงานศิลปะร่วมสมัย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ทยอยปรับปรุงอาคารและรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการถาวรครั้งใหญ่มาตั้งแต่ พ.ศ.2555 และปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้เข้าชมแล้วทุกห้องโดยห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรห้องสุดท้ายที่ได้รับการปรับโฉมใหม่เสร็จเรียบร้อยคือ ห้องลพบุรี ที่เล่าเรื่องศิลปะเขมรในประเทศไทย
บ้านบานเย็น กลุ่มเรือนไม้โบราณจำนวน 3 หลังอายุกว่า 100 ปี ที่สร้างตามสถาปัตยกรรมสไตล์วิกตอเรียนซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 และทางทายาทได้อนุรักษ์จนได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต พิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านครุฑแห่งแรกในประเทศไทยและแห่งเดียวในอาเซียน เจาะเรื่องราวเกี่ยวกับครุฑตั้งแต่กำเนิดจากไข่จนกระทั่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์ประดับอาคารของธนาคารนครหลวงไทยในอดีต หรือก็คือธนาคารทหารไทยธนชาตในปัจจุบัน
อาโรคยปณิธาน นิทรรศการหมุนเวียนที่เล่าประวัติศาสตร์โรคภัยไข้เจ็บในไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ผ่านหลักฐานทางโบราณคดีกว่า 300 รายการ รวมถึงการแสวงหาหนทางให้พ้นโรคด้วยพิธีกรรมความเชื่อแบบผี พราหมณ์ พุทธ ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ตลอดจนความก้าวหน้าทางการแพทย์ตะวันตก